ศูนย์แสดงสินค้าพื้นเมืองโอท๊อปซิตี้ ถนนเปรมประชาราษฎร์ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ร้อยเอ็ด 45000 043 - 516715 edu101roiet@gmail.com
นโยบาย Cookie

เว็บไซต์นี้มีการใช้งาน Cookie โปรดกด "ยอมรับ" ในการเปิดใช้งาน Cookie ของเว็บไซต์

นโยบาย Cookie

เดือนอ้าย บุญเข้ากรรม

งานบุญเดือนอ้ายหรือเดือนเจียง พระสงฆ์จะทําพิธีเข้ากรรมหรือที่เรียกว่า "เข้าปริวาสกรรม" เพื่อทําการชําระมลทินที่ได้ล่วงละเมิด พระวินัยคือ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส การอยู่กรรมนั้นจะใช้เวลา 6-9 วัน ในระหว่างนี้เองชาวบ้านจะเตรียมอาหาร หวานคาวนํา ไปถวายพระภิกษุทั้งเช้าและเพล เพราะการอยู่กรรมจะต้องอยู่ในบริเวณสงบ เช่น ชายป่าหรือที่ห่างไกลชุมชน (หรืออาจเป็นที่สงบ ในบริเวณวัดก็ได้) ชาวบ้านที่นําอาหารไปถวาย พระภิกษุในระหว่างอยู่กรรมนี้เชื่อว่าจะทําให้ได้บุญกุศลมาก

มูลเหตุของพิธีกรรม

เพื่อลงโทษภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส  ต้องเข้าปริวาสกรรม  จึงจะพ้นอาบัติหรือพ้นโทษกลับ เป็นภิกษุผู้มีศีลบริสุทธิ์ อยู่ในพุทธศาสนาต่อไป คํา "เข้าปริวาสธรรม"  นี้ภาษาลาวและไทอีสานตัดคํา "ปริวาส" ออกเหลือเป็น "เข้ากรรม" ดังนั้นบุญเข้ากรรมก็คือ "บุญเข้าปริวาสกรรม" นั่นเอง

พิธีกรรม

               ภิกษุผู้ต้องอาบัติหมวดสังฆาทิเลสที่จะเข้าอยู่ปริวาสกรรม เพื่อชําระล้างความมัวหมองของศีลให้แก่ตนเองต้องไปขอปริวาสจากสงฆ์ เมื่อสงฆ์อนุญาติ แล้วจึงมาจัดสถานที่ที่จะเข้าอยู่ปริวาสกรรม เมื่อจัดเตรียมสถานที่เรียบร้อยแล้ว ภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสสข้อใดข้อหนึ่งจะต้องอยู่ปริวาส (การอยู่ค้างคืน) และต้องประพฤติวัตร (การปฏิบัติการจําศีล) ต่างๆ เช่น งดใช้สิทธิ์ บางอย่างลดฐานะและประจานตนเอง เพื่อเป็น การลงโทษตนเอง โดยต้องประพฤติวัตร ให้ครบจํานวนวันที่ปกปัดอาบัตินั้นๆ เพื่อปลดเปลื้องตนจากอาบัติสังฆาทิเสส และต้องไปหา "สงฆ์จตุรวรรค" (คือภิกษุสี่รูปขึ้นไป) เพื่อจะขอ "มานัต" และมีภิกษุอีกรูปหนึ่งจะสวดประกาศให้มานัตแล้ว ภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสสต้องประพฤติมานัตอีก 6 คืนแล้วสงฆ์ผู้บริสุทธิ์จึงจะเรียกเข้าหมู่กลาย เป็นผู้บริสุทธิ์ต่อไป

เดือนยี่ บุญคูนลานหรือบุญคูนข้าว

บุญคูนลานหรือบุญคูนข้าวเป็นพิธีกรรมฉลองภายหลังจากเสร็จสิ้นการเก็บเกี่ยว ชาวบ้านรู้สึกยินดีที่ได้ผลผลิตมาก  จึงต้องการทําบุญ โดยนิมนต์พระสงฆ์มาสวดมนต์ในลานข้าวและในบางแห่งจะมีการสู่ขวัญข้าวเพื่อฉลองความอุดมสมบูรณ์ กล่าวขอบคุณแม่โพสพและ ขอโทษที่ได้ เหยียบย่ำ พื้นแผ่นดินในระหว่างการทํานา เพื่อความเป็นสิริมงคลและให้ผลผลิตเป็นทวีคูณในปีต่อไป

มูลเหตุของพิธีกรรม

มูลเหตุของพิธีทําบุญคูนข้าวหรือบุญคูนลาน เนื่องมาจากเมื่อชาวนาเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จจะหาบฟ่อน   ข้าวมารวมกันเป็น "ลอนข้าว" ไว้ที่นาของตน ถ้าลอมข้าวของใครสูงใหญ่ก็แสดงให้ผู้คนที่ผ่านไปมารู้ว่านาทุ่งนั้นเป็นนาดี ผู้เป็นเจ้าของก็ดีใจ หายเหน็ดเหนื่อยจิตใจเบิกบานอยากทําบุญทํานาน เพื่อเป็นกุศลส่งให้ในปีต่อไปจะได้ผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้นอีก เรียกว่า "คูนให้ใหญ่ให้สูงขึ้น" เพราะคําว่า "คูณ" นี้มาจาก "ค้ำคูณ" หมายถึงอุดหนุนให้ดีขึ้น ช่วยให้เจริญขึ้น

พิธีกรรม

ผู้ประสงค์จะทําบุญคูนข้าวหรือบุญคูนลาน ต้องจัดสถานที่ทําบุญ ที่ "ลานนวดข้าว" ของตนโดยนิมนต์พระภิกษุสงฆ์มาเจริญพุทธมนต์มีการวางด้าย สายสิญจน์และปักเฉลวรอบกองข้าว เมื่อพระสงฆ์เจริญพุทธมนต์เสร็จแล้วก็จะถวายภัตตาหารเลี้ยงเพลแก่พระภิกษุสงฆ์จากนั้นนําข้าวปลาอาหาร มาเลี้ยง ญาติพี่น้องผู้มาร่วมทําบุญ เมื่อพระภิกษุสงฆ์ฉันเสร็จก็จะประพรมน้ำพุทธมนต์ให้กองข้าว ให้เจ้าภาพและทุกคนที่มาร่วมทําบุญ จากนั้นท่านก็จะให้พร เจ้าภาพก็จะนําน้ำพระพุทธมนต์ที่เหลือไปประพรมให้แก่ วัว ควาย ตลอดจนไร่นาเพื่อความเป็นศิริมงคล และเชื่อว่าผลของการทําบุญจะช่วยอุดหนุน เพิ่มพูนให้ได้ข้าวมากขึ้นทุกๆ ปี

เดือนสาม บุญข้าวจี่

บุญข้าวจี่เป็นประเพณีที่เกิดจากความสมัครสมานของชุมชนชาวบ้านจะนัดหมายกันมาทําบุญร่วมกันโดยช่วยกันปลูกผามหรือปะรํา เตรียมไว้ใน ตอนบ่าย ครั้นเมื่อถึงรุ่งเช้าในวันต่อมาชาวบ้านจะช่วยกันจี่ข้าว หรือปิ้งข้าวและตักบาตรข้าวจี่ร่วมกัน หลังจากนั้นจะให้มีการ เทศน์นิทานชาดก เรื่องนางปุณณทาสีเป็นเสร็จพิธี

มูลเหตุของพิธีกรรม

มูลเหตุจากความเชื่อทางพุทธศาสนา เนื่องมาจากสมัยพุทธกาล มีนางทาสชื่อปุณณทาสี ได้นําแป้ง ข้าวจี่ (แป้งทําขนมจีน) ไปถวายพระพุทธเจ้า แต่จิตใจของนางคิดว่า ขนมแป้งข้าวจี่เป็นขนมของผู้ต่ำต้อย พระพุทธเจ้าคงไม่ฉัน ซึ่งพระพุทธเจ้าหยั่งรู้จิตใจนาง จึงทรงฉันแป้งข้าวจี่ ทําให้ นางปิติดีใจ ชาวอีสานจึงเอาแบบ อย่างและพากันทําแป้งข้าวจี่ถวายพระมาตลอด อีกทั้งเนื่องจากในเดือนสามอากาศของภูมิภาคอีสานกําลังอยู่ ในฤดูหนาว ในตอนเช้าผู้คนจะใช้ฟืนก่อไฟ ผิงแก้หนาวชาวบ้านจะเขี่ยเอาถ่านออกมาไว้ด้านหนึ่งของกองไฟ แล้วนําข้าวเหนียวมาปั้นเป็นก้อนกลม โรยเกลือวางลงบนถ่านไฟแดงๆ นั้นเรียกว่า ข้าวจี่ ซึ่งมีกลิ่นหอม ผิวเกรียมกรอบน่ารับประทานทําให้นึกถึงพระภิกษุสงฆ์ ผู้บวชอยู่วัดอยากให้ได้ รับประทานบ้าง จึงเกิดการทําบุญข้าวจี่ขึ้น ดังมีคํากล่าวว่า "เดือนสามค้อย เจ้าหัวคอยปั้นข้าวจี่ ข้าวจี่บ่มีน้ำอ้อย จัวน้อยเช็ดน้ำตา" (พอถึงปลาย เดือนสามภิกษุก็คอยปั้นข้าวจี่ ถ้าข้าวจี่ไม่มีน้ำอ้อยยัดไส้ เณรน้อยเช็ดน้ำตา)

พิธีกรรม

พอถึงวัดนัดหมายทําบุญข้าวจี่ทุกครัวเรือนในหมู่บ้านจะจัดเตรียมข้าวจี่ตั้งแต่ตอนย่ำรุ่งของวันนั้นเพื่อให้ข้าวจี่สุกทันใส่บาตรจังหัน นอกจาก ข้าวจี่แล้วก็จะนํา "ข้าวเขียบ" (ข้าวเกรียบ) ทั้งที่ยังไม่ย่างเพื่อให้พระเณรย่างกินเองและที่ย่างไฟจนโป่งพองใส่ถาดไปด้วย พร้อมจัดอาหารคาว ไปถวายพระที่วัด ข้าวจี่บางก้อนผู้ เป็นเจ้าของได้ยัดไส้ด้วยน้ำอ้อย แล้วทาด้วยไข่ เพื่อให้เกิดรสหวานหอมชวน รับประทาน ครั้นถึงหอแจกหรือ ศาลาโรงธรรมพระภิกษุสามเณรทั้งหมดในวัดจะ ลงศาลาที่ญาติโยมที่มารวมกันอยู่บนศาลาก่อน แล้วประธานในพิธีเป็นผู้อาราธนาศีล พระภิกษุให้ศีล ญาติโยมรับศีล แล้วกล่าวคําถวายข้าวจี่ จากนั้นก็จะนํา ข้าวจี่ใส่บาตรพระ ซึ่งตั้งเรียงไว้เป็นแถวเท่าจํานวนพระเณร พร้อมกับถวายปิ่นโต สํารับกับ ข้าวคาวหวาน เมื่อพระฉันจังหันเทศน์เสร็จแล้วก็ให้พร ญาติโยมรับ พรเป็นเสร็จพิธี

 

เดือนห้า บุญสรงน้ำ หรือ บุญฮดสรง

บุญฮดสรง หรือ บุญสงกรานต์ จัดให้มีในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือนห้า ซึ่งถือเป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทยมาตั้งแต่โบราณ ในวันขึ้นปีใหม่ของไทยมาแต่โบราณ ในวันนี้พระสงฆ์ นําพระพุทธรูปออกจากโบสถืมาไว้ที่หอสรง ตอนบ่าย ชาวบ้านจะนําน้ำอบ น้ำหอม มาร่วมกันสรงน้ำพระพุทธรูปที่หอสรงนี้ จากนั้น ก็ออกไปเก็บดอกไม้มาจัดประกวดประชันในการบูชาพระ ระหว่างนี้ชาวบ้านจะพากันเล่นแคน ฉิ่งฉาบ เพื่อความสนุกสนานรดน้ำดําหัวญาติผู้ใหญ่ และเล่นสาดน้ำกัน โดยชาวบ้านอาจเล่นสนุกสนานถึง 15 วัน

มูลเหตุของพิธีกรรม

เนื่องจากเดือนนี้ถือว่าเป็นวันขึ้นปีใหม่มาแต่โบราณ โดยจะถือเอาวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 เป็นวันเริ่ม ต้นการทําบุญพิธีกรรม เมื่อถึงวันเพ็ญเดือนห้าเวลา บ่ายสามโมง ถือว่า "เป็นมื้อเอาพระลง" หมายถึงการนําเอา พระพุทธรูปทั้งหมดในวัดมาทําความสะอาดแล้วนํามาตั้งรวมไว้ที่กลางศาลาโรงเรือน หรือ "หอแจก" พิธีเริ่มจากผู้เป็นประธานนําดอกไม้ธูปเทียนเครื่องสักการะพระพุทธรูป แล้วนํากล่าวบูชาพระรัตนตรัย อาราธนาศีล พระสงฆ์ให้ศีลญาติโยม รับศีลแล้วผู้เป็นประ ธานอาราธนาพระปริตรพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ จบแล้วญาติโยมก็เอาน้ำอบน้ำหอมสรงพระพุทธรูป จากนั้นหนุ่มสาวก็จะพากัน หาบน้ำจากบ่อหรือหนอง บึง ไปเทไว้ใน โอ่งของวัดให้พระภิกษุ สามเณรได้ใช้อาบขณะเดียวกันก็จะเริ่มเล่นสาดน้ำกันและกันเป็นที่สนุกสนานตอนค่ำ นิมนต์พระสงฆ์มาสวดไชยมงคล (มงคลสูตร) ที่ผามไชย์กลางหมู่บ้าน รุ่งเช้า (วันแรมหนึ่งค่ำ) เป็น "มื้อเนา" ถือเป้นวันขึ้นปีใหม่ มีการทําบุญให้ทาน โดยนําข้าวปลาอาหารมาถวายพระที่ผามไชย์การสวดไชยมงคล (มงคลสูตร) นี้ต้องสวดให้ครบ 7 คืน โดยมีบาตรใส่น้ำมนต์ไว้ 7 ใบพร้อมทั้งมีถังใส่ กรวดทรายไว้จํานวนหนึ่ง เมื่อครบ 7 คืนแล้ว พระสงฆ์จะเดินสวด ไชยมงคลไปรอบหมู่บ้าน พร้อมกับสาดน้ำมนต์ ส่วนญาติโยมจะหว่านกรวดทรายไป พร้อมๆ กัน ถือว่าเป็นการขับไล่สิ่งอัปมงคล และเสนียดจัญไรออกไปจากหมู่บ้านทําให้คนทั้งหมู่บ้าน ประสบแต่ ความสุขความเจริญในปีใหม่ที่จะมาถึง คนอีสานเรียกวันสงกรานต์ ดังนี้ คือ วันที่ 13 เมษายน เรียกว่า วันสังขารล่วง วันที่ 14 วันเนา และ วันที่ 15 เรียกว่า วันสังขารขึ้น

เดือนหก บุญบั้งไฟ

บุญบั้งไฟ เป็นประเพณีที่เกิดจากความเชื่อเกี่ยวกับแถน เมื่อถึงเดือนหกเริ่มต้นการทํานาชาวบ้านจะจุดบั้งไฟเป็นการบูชาขอให้พญาแถนบันดาล ฝนให้ตกลงมา ประเพณีบุญบั้งไฟเป็นกิจกรรมร่วมกันของชุมชนอีสานหลาย ๆ หมู่บ้าน หมู่บ้านเจ้าภาพจะปลูกโรงเรือน เรียกว่า ผามบุญ ไว้ต้อนรับ ชาวบ้านจากหมู่บ้านอื่น และดูแลจัดหาอาหารสําหรับทุกๆ คน เช้าของวันงานชาวบ้านจะร่วมกันทําบุญ ประกวดประชัน แห่และจุดบั้งไฟที่ตกแต่ง อย่างงดงาม บั้งไฟของหมู่บ้านใดจุด ไม่ขึ้นชาวบ้านหมู่บ้านนั้นจะถูกโยนลงโคลนเป็นการทําโทษ และจะมีการเซิ้งฟ้อนกันอย่างสนุกสนาน และจะมี การเซิ้งปลัดขิกร่วมอยู่ในขบวนด้วยเสมอ โดยมีความเชื่อว่าเป็นการไล่ผีให้พ้นออก ไปจากหมู่บ้านและเร่งให้แถนส่งฝนลงมาเร็วๆ

มูลเหตุของพิธีกรรม

ตามตํานานพื้นบ้านอีสานเชื่อว่าเป็นการจุดบั้งไฟเป็นสัญญาณเตือนให้พญาแถนรู้ว่าถึงฤดูทํานาแล้วให้พญาแถนบันดาล ให้ฝนตกและมีปริมาณ เพียงพอแก่การปลูกพืชพันธุ์ธัญญาหารพิธีกรรม เมื่อได้ประชุมกําหนดวันจะทําบุญบั้งไฟแล้ว พวกช่างปืนไฟก็จะร่วมทําบั้งไฟ หาง บั้งไฟก่องข้าว ไว้ตามจํานวนและขนาดที่ชาวบ้านศรัทธาร่วมกันบริจาคเงินซื้อศรัทธา ซื้อ "ขี้เกีย หรือ ขี้เจี้ย" (ดินประสิว) มาทํา "หมื่อ" ปัจจุบันมักจะมีการแข่งขัน บั้งไฟระหว่างคุ้มบอกกล่าวไปยังหมู่บ้านอื่นๆ ให้ทําบั้งไฟมาแข่งขันกันตามขนาดที่กําหนดอาจเป็น "บั้งไฟหมื่น" (มีน้ำหนักไม่เกิน 120 กิโลกรัม) "บั้งไฟแสน" (มีน้ำหนักมากกวา 120 กิโลกรัม) ก็ได้พอถึง "มื้อโฮมบุญ" หรือวันรวม ชาวบ้านจะจัดทําบุญเลี้ยงพระเพล แล้วจะมี "พิธีฮดสง" พระภิกษุ ผู้มีศีลศึกษาธรรมวินัยมาตลอดพรรษาให้ได้เลื่อนเป็นตําแหน่งสูงขึ้น คือ "ฮด" จากพระภิกษุธรรมดาให้เป็นภิกษุขั้น "อาจารย์" แต่เรียกสั้นๆ ว่า "จารย์" ผู้มีอายุครบบวชถ้าอยากบวช พ่อแม่มักจะจัดให้บวชในเดือนนี้ไปพร้อมๆ กับพิธีนี้ ประมาณเวลา 15.00 น. ของมื้อโฮม นํา "กองฮด" และ "กองบวช" มาตั้งไว้กลางศาลาโรงธรรมทางวัดจะตีกลองเป็นสัญญาณ บอกให้ทุกคุ้มนําบั้งไฟมารวมกันที่วัดแต่ละคุ้มจะเอ้บั้งไฟ (ตกแต่งบั้งไฟ) ของตนให้สวยงาม เป็นการประกวดประชันกันเบื้องต้น มีการจัดขบวนการแห่บั้งไฟ และในขณะที่แห่บั้งไฟจะเซิ้งบั้งไฟไปพร้อม ๆ กันด้วย การเซิ้งบั้งไฟนี้จะมีหัวหน้า กล่าวนําคําเซิ้งเป็นวรรคๆ ไปแล้วให้ผู้เข้าร่วมขบวนแห่ทุกคนกล่าวตาม ขณะที่กล่าวก็รําให้เข้ากับจังหวะเซิ้งนั้นด้วยรุ่งเช้าของวันบุญบั้งไฟ ญาติโยม จะนําข่าวปลาอาหารทั้งขนมหวาน มาทําบุญตักบาตรร่วมกันที่วัด หลังจากพระฉันจังหันเสร็จแล้วก็จะนําบั้งไฟมารวมกันที่วัดแล้วนําไปจุดที่ "ค้างบั้งไฟ" (ร้านสําหรับจุดบั้งไฟ) ที่สําคัญเวลาจุดต้องหันหัว บั้งไฟไปทางทุ่งนาหรือหนองน้ำเพื่อป้องกันอันตราย

เดือนเจ็ด บุญซําฮะ

บุญซําฮะหรือชําระ เกิดตามความเชื่อที่ว่าเมื่อถึงเดือนเจ็ดต้องทําบุญชําระจิตใจให้สะอาดและเพื่อ ปัดเป่ารังควาญสิ่งไม่เป็นมงคลออกจากหมู่บ้านบาง ท้องถิ่นเรียกประเพณีนี้ว่าบุญเบิกบ้านซึ่งมีพิธีกรรมทั้งทางศาสนาพุทธและไสยศาสตร์ ในวันงานชาวบ้านจะพากันนําภัตตาหารมาถวายแด่พระภิกษุ สงฆ์และร่วมกัน ฟังเทศน์ฟังธรรม รวมทั้งมีการเซ่นไหว้ศาลหลักบ้าน เพื่อขอความคุ้มครองให้พ้นจากภัยพิบัติและช่วยขับไล่สิ่งไม่ดีไม่งามออกไปจาก หมู่บ้าน ให้บ้านเกิดความเป็นสิริมงคล

มูลเหตุของพิธีกรรม

มีเรื่องเล่าไว้ในคัมภีร์ธรรมบทว่าครั้งหนึ่งเมืองไพสาลีเกิด "ทุพภิกขภัย" ข้าวยากหมากแพงประชาชนขาดแคลนอาหารเพราะฝนแล้งสัตว์เลี้ยงต่างๆ ล้มตายเพราะความหิว ซ้ำร้ายอหิวาตกโรคหรือ "โรคห่า" ก็ระบาดทําให้ผู้คนล้มตายกันมากมาย ชาวเมืองกลุ่มหนึ่งจึงพากันเดินทางไปนิมนต์ พระพุทธเจ้าให้มาปัดเป่าภัยพิบัติครั้งนี้ ครั้นพระพุทธเจ้าเสด็จถึงเมืองไพสาลีก็เกิดฝน "ห่าแก้ว" ตกลงมาอย่างหนักจนน้ําฝนท่วมแผ่นดินสูงถึง หัวเข่าและน้ำฝนก็ได้พัดพาเอาซากศพของผู้คนและสัตว์ต่างๆ ไหลล่องลอยลงแม่น้ำไปจนหมดสิ้น พระพุทธเจ้าทรงทําน้ำพระพุทธมนต์ใส่บาตร แล้วมอบให้พระอานนท์นําไปประพรมทั่วเมือง โรคภัยไข้เจ็บก็สูญสิ้นไปด้วย เดชะพระพุทธานุภาพ ดังนั้นคนลาวโบราณรวมทั้งไทยอีสานจึงทํา บุญซําฮะขึ้นใน

 

เดือนเจ็ด บุญซําฮะ

บุญซําฮะหรือชําระ เกิดตามความเชื่อที่ว่าเมื่อถึงเดือนเจ็ดต้องทําบุญชําระจิตใจให้สะอาดและเพื่อ ปัดเป่ารังควาญสิ่งไม่เป็นมงคลออกจากหมู่บ้านบาง ท้องถิ่นเรียกประเพณีนี้ว่าบุญเบิกบ้านซึ่งมีพิธีกรรมทั้งทางศาสนาพุทธและไสยศาสตร์ ในวันงานชาวบ้านจะพากันนําภัตตาหารมาถวายแด่พระภิกษุ สงฆ์และร่วมกัน ฟังเทศน์ฟังธรรม รวมทั้งมีการเซ่นไหว้ศาลหลักบ้าน เพื่อขอความคุ้มครองให้พ้นจากภัยพิบัติและช่วยขับไล่สิ่งไม่ดีไม่งามออกไปจาก หมู่บ้าน ให้บ้านเกิดความเป็นสิริมงคล

มูลเหตุของพิธีกรรม

มีเรื่องเล่าไว้ในคัมภีร์ธรรมบทว่าครั้งหนึ่งเมืองไพสาลีเกิด "ทุพภิกขภัย" ข้าวยากหมากแพงประชาชนขาดแคลนอาหารเพราะฝนแล้งสัตว์เลี้ยงต่างๆ ล้มตายเพราะความหิว ซ้ำร้ายอหิวาตกโรคหรือ "โรคห่า" ก็ระบาดทําให้ผู้คนล้มตายกันมากมาย ชาวเมืองกลุ่มหนึ่งจึงพากันเดินทางไปนิมนต์ พระพุทธเจ้าให้มาปัดเป่าภัยพิบัติครั้งนี้ ครั้นพระพุทธเจ้าเสด็จถึงเมืองไพสาลีก็เกิดฝน "ห่าแก้ว" ตกลงมาอย่างหนักจนน้ําฝนท่วมแผ่นดินสูงถึง หัวเข่าและน้ำฝนก็ได้พัดพาเอาซากศพของผู้คนและสัตว์ต่างๆ ไหลล่องลอยลงแม่น้ำไปจนหมดสิ้น พระพุทธเจ้าทรงทําน้ำพระพุทธมนต์ใส่บาตร แล้วมอบให้พระอานนท์นําไปประพรมทั่วเมือง โรคภัยไข้เจ็บก็สูญสิ้นไปด้วย เดชะพระพุทธานุภาพ ดังนั้นคนลาวโบราณรวมทั้งไทยอีสานจึงทํา บุญซําฮะขึ้นในเดือน 7 ของทุกๆ ปี พิธีกรรม พอถึงวันทําบุญชาวบ้านทุกครัวเรือนจะนําดอกไม้ธูปเทียน ขันน้ำมนต์ ขันใสกรวด ทรายและเฝ้าผูกแขน มารวมกันที่ศาลากลางบ้าน ถ้าหมู่บ้านใดไม่มีศาลากลางบ้าน ถ้าหมู่บ้านใดไม่มีศาลากลางบ้าน ชาวบ้านจะช่วยกันปลูกปะรําพิธีขึ้นกลางหมู่บ้าน ตกตอนเย็นจะนิมนต์พระสงฆ์มาสวดชัยมงคลคาถา (ชาวอีสานเรียกว่า ตั้งมุงคุน) เช้าวันรุ้งขึ้นจะพากันทําบุญตักบาตรเลี้ยงพระถวายจังหันเมื่อ พระสงฆ์ ฉันเสร็จแล้วจะให้พรและประพรมน้ำพุทธมนต์ให้แก่ทุกคนที่มาร่วมทําบุญ จากนั้นชาวบ้านจะนําขันน้ำมนต์ด้ายผูกแขน ขันกรวดทรายกลับไปที่ บ้านเรือนของตนเองแล้วนําน้ำมนต์ไป ประพรมให้แก่ทุกคนในครอบครัว ตลอดจนบ้านเรือนและวัวควาย เอาด้ายผูกแขน ลูกหลานทุกคนเพราะเชื่อ ว่าจะนําความสุขและสิริมงคลมาสู่สมาชิกทุกคน ส่วนกรวดทรายก็จะเอามาหว่านรอบๆ บริเวณบ้านและที่สวนที่นา เพื่อขับไล่เสนียดจัญไร และสิ่ง อัปมงคล

 

 

เดือนสิบเอ็ด บุญออกพรรษา

บุญออกพรรษาในเดือนสิบเอ็ดนอกจากจะเป็นโอกาสที่พระภิกษุสงฆ์จะแสดงอาบัติและว่ากล่าวตักเตือนกันแล้ว ชาวบ้านในภาคอีสานยังมีกิจกรรม กันอีกหลายอย่าง ทั้งประเพณีตักบาตรเทโว การจุดประทีปโคมไฟประดับประดาตามต้นไม้ บางแห่งนําต้นอ้อย หรือไม้ไผ่มามัดเป็นเรือจุดโคมแล้ว นําไปลอยในแม่น้ำที่เรียกว่า การไหลเรือไฟ เพื่อเป็นพุทธบูชาสําหรับหมู่บ้านที่อยู่ไกล แหล่งน้ำจะนิยมทําปราสาทผึ้งหรือผาสาดผึ้งทําจากกาบกล้วย ประดับประดาด้วยขี้ผึ้ง ซึ่งทําเป็นดอกไม้ แต่ปัจจุบันมักใช้ขี้ผึ้งมาตกแต่งปราสารททั้งหลัง แล้วจัดขบวนแห่มาถวายที่วัดอย่างสนุกสนาน

มูลเหตุพิธีกรรม

เพื่อเปิดโอกาสให้ภิกษุสงฆ์ว่ากล่าวตักเตือนกันได้ และเพื่อพระภิกษุสงฆ์จะได้จาริกไปในที่ต่างๆ เพื่อเที่ยวสั่งสอนศีลธรรมและธรรมะแก่ประชาชน หรือ เพื่อแสวงหาความสงบวิเวกในการปฏิบัติธรรม โดยไม่ต้องกลับมาค้างแรมที่วัดและให้ภิกษุหาผ้านุ่มห่มใหม่มาผลัดเปลี่ยน

พิธีกรรม

ในเช้ามืดวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 1 พระสงฆ์จะไปรวมกันที่อุโบสถเพื่อแสดงอาบัติต่อกัน จากนั้นจะทําวัตรและทําปวารณาแทนการสวดปาฏิโมกข์ (ปวารณา คือ พิธีกรรมทางศาสนาทสงฆ์ยอมให้ว่ากล่าวตักเตือนกับการปวารณาจะทําในวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 11 ซึ่งเป็นวันออกพรรษาจึงเรียกวันออกพรรษาว่า วันปวารณาหรือวันมหาปวารณา (จากพจนานุกรรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 ฉบับพิมพ์ พ.ศ.2538) ส่วนชาวบ้านก็จะเตรียมข้าวปลาอาหาร เพื่อให้ทําบุญตักบาตรที่วัดในตอนรุ่งเข้าและถวายผ้าจํานําพรรษาแด่ภิกษุสามเณร ตอนค่ำมีการเวียนเทียน

 

 

 

เดือนสิบสอง บุญกฐิน

บุญกฐินคือ บุญที่เรียกว่า "กาลทาน" นี้มีกําหนดให้ทําได้เฉพาะใน ช่วงวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึง 15 ค่ำ เดือน 12 ของทุก ปี จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า "บุญ เดือน 12" ชาวอีสานเชื่อว่าผู้ใดได้ ทําบุญกฐินจะไม่ตกนรกและจะได้รับผลบุญที่ทําในชาตินี้ไว้เก็บกินในชาติหน้า งานบุญกฐินจึงจัดเป็นงานสําคัญ ในส่วน พิธีกรรมนั้นคล้ายคลึงกับภาคกลางแต่ที่ชาวอีสานและเครื่องบริวารกฐิน ซึ่งส่วนมากจะเป็นเครื่องใช้ในครัวเรือนมาตั้งวางไว้ในที่เปิดเผยเพื่อให้ญาติพี่น้อง หรือชาวบ้าน ใกล้เคียงนําสิ่งของ เช่น เสื่อ หมอน อาสนสงฆ์ ฯลฯ มาร่วมสบทบ ตอนเย็นของวันรวมก็จะนิมนต์ พระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์ตอนกลางคืน อาจจัดให้มีมหรสพต่างๆ และที่ขาดไม่ได้ในงานบุญ กฐินก็คือ ต้องจุด "บั้งไฟพลุ" อย่างน้อยจํานวน 4 บั้ง เอาไว้จุดเมื่อตอนหัวค่ำหนึ่งลูก ตอนดึกหนึ่งลูก ตอนใกล้สว่างหนึ่งลูก และตอนถวายกฐินอีกหนึ่งลูก นอกจากจุดบั้งไฟพลุแล้วก็จะจุดบั้งไฟตะไลเป็นระยะ ๆ ในขณะที่แห่กฐินรุ่งเช้าเป็นขบวนแห่กฐินจาก บ้านไปถวายพระสงฆ์ที่วัด เมื่อถึงวัดต้องแห่เครื่องกฐินเวียนขวาสามรอบ รอบศาลาโรงธรรม จากนั้นจึงนําเครื่องกฐินขึ้นตั้งบนศาลาโรงแรม นําข้าวปลา อาหารถวายพระ ถ้าถวายตอนเช้าก็เลี้ยงพระตอนฉันจังหัน แต่ถ้าถวายตอนบ่ายก็จะเลี้ยงพระตอนเพล เมื่อพระสงฆ์สามเณรฉันเสร็จแล้วผู้เป็นเจ้าภาพ องค์กฐินจะจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย นํารับศีลแล้วกล่าวคําถวายกฐินเป็นเสร็จพิธี ส่วนพระสงฆ์เมื่อมีกฐินมาทอดที่วัดก็จะประชุมสงฆ์แล้วให้ภิกษุรูป หนึ่งเสนอต่อที่ประชุมสงฆ์ว่าควรให้แก่ภิกษุ (เอ่ยนามภิกษุ) ที่สมควรจะได้รับกฐิน ส่วนมากก็เป็นเจ้าอาวาสวัดนั้นๆ เมื่อที่ประชุมสงฆ์เห็นชอบตามที่มีผู้เสนอ ก็จะเปล่งคําว่า "สาธุ" พร้อมกันจากนั้นญาติโยมก็จะพากันถวายเครื่องปัจจัยไทยทานแด่ภิกษุสามเณรอื่น ๆ ทั้งวัด พระสงฆ์รับแล้วจะอนุโมทนาและให้พรเป็น เสร็จพิธีจะขาดไม่ได้ คือ การเฉลิมฉลองโดยการจุดพลุบั้งไฟอย่างเอิกเกริกในขณะที่แห่ขบวนกฐินมาที่วัด

มูลเหตุพิธีกรรม

เพื่อให้ภิกษุสงฆ์มีโอกาสได้ผลัดเปลี่ยนไตรจีวรใหม่ เนื่องจากของเก้าใช้นุ่งห่มมาตลอดระยะเวลาสามเดือนที่เข้าพรรษาย่อมเก่าคร่ำคร่ามีเรื่องเล่าว่าในสมัย พระพุทธองค์ยังทรงมีพระชนมชีพอยู่ ภิกษุชาวเมืองปาฐาจํานวน 30 รูปพากันเดินทางไปเฝ้าพระพุทธองค์ที่พระเชตุวันมหาวิหารไม่ทันวันเข้าพรรษา จึงต้องพากันพักจําพรรษาอยู่ที่เมืองสาเกตพอออกพรรษาแล้วก็รีบพากันเดินทางกรําแดดกรําฝนไปเฝ้าพระพุทธองค์ จีวรที่นุ่มห่มก็เปียกปอน เมื่อพระพุทธองค์ ทรงเห็นความยากลําบากของพระภิกษุเหล่านี้ก็ทรงอนุญาตให้รับผ้ากฐินได้ เพื่อจะได้มีจีวรเปลี่ยนใหม่ เมื่อผู้มีศรัทธาประสงค์จะนํากฐินไปทอดต้องไปขอ จองวัดโดยปกติมักจะติดต่อ

พิธีกรรม

ตั้งแต่ตอนเช้าเข้าพรรษาใหม่ ๆ ซึ่งอาจเป็นเดือนเก้า เดือนสิบ เมื่อเจ้าอาวาสแจ้งว่าวัดนั้นยังไม่มีผู้ใด จองกฐิน ผู้มีจิตศรัทธาที่จะทําบุญจะปักสลากเพื่อ ประกาศให้คนทั้งหลายรู้ว่าตนเป็นผู้จองและจะนํากฐินมาทอดที่วัดดังกล่าวสลากต้องปักไว้ในที่เปิดเผย เช่น ศาลาโรงธรรม หรือฝาผนัง ด้านนอกของโบสถ์ รายละเอียดในสลากก็จะบอกถึงชื่อที่อยู่ของผู้ที่จะนํากฐินมาทอด รวมทั้งบอกวันเวลาที่จะทอดด้วย เพื่อไม่ให้เจ้าศรัทธาอื่นนํากฐินมาทอดรวมทั้งบอกวันเวลา ที่จะทอดด้วย เพื่อไม่ให้เจ้าศรัทธาอื่นนํากฐินมาทอดซ้ำซ้อนกัน เพราะวัดหนึ่งๆ จะรับกฐินได้ปีละหนึ่งกองเท่านั้น คนอีสานมีความเชื่อว่าถ้าผู้ใดได้ทําบุญกฐิน แล้วตายไปจะไม่ตกนรก มีแต่จะได้รับผลบุญที่ตนเองกระทําเอาไว้เก็บกินในชาติหน้า การทําบุญกฐินจึงจัดเป็นงานสําคัญ ผู้ที่จะทําบุญกฐินจึงบอกกล่าว ลูกหลาน ญาติมิตรของตนให้โดยพร้อมหน้า ครั้นถึงวันรวมก็จะตั้งองค์กฐินที่บ้านของตน

เดือนห้า บุญสรงน้ำ หรือ บุญฮดสรง

บุญฮดสรง หรือ บุญสงกรานต์ จัดให้มีในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือนห้า ซึ่งถือเป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทยมาตั้งแต่โบราณ ในวันขึ้นปีใหม่ของไทยมาแต่โบราณ ในวันนี้พระสงฆ์ นําพระพุทธรูปออกจากโบสถืมาไว้ที่หอสรง ตอนบ่าย ชาวบ้านจะนําน้ำอบ น้ำหอม มาร่วมกันสรงน้ำพระพุทธรูปที่หอสรงนี้ จากนั้น ก็ออกไปเก็บดอกไม้มาจัดประกวดประชันในการบูชาพระ ระหว่างนี้ชาวบ้านจะพากันเล่นแคน ฉิ่งฉาบ เพื่อความสนุกสนานรดน้ำดําหัวญาติผู้ใหญ่ และเล่นสาดน้ำกัน โดยชาวบ้านอาจเล่นสนุกสนานถึง 15 วัน

มูลเหตุของพิธีกรรม

เนื่องจากเดือนนี้ถือว่าเป็นวันขึ้นปีใหม่มาแต่โบราณ โดยจะถือเอาวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 เป็นวันเริ่ม ต้นการทําบุญพิธีกรรม เมื่อถึงวันเพ็ญเดือนห้าเวลา บ่ายสามโมง ถือว่า "เป็นมื้อเอาพระลง" หมายถึงการนําเอา พระพุทธรูปทั้งหมดในวัดมาทําความสะอาดแล้วนํามาตั้งรวมไว้ที่กลางศาลาโรงเรือน หรือ "หอแจก" พิธีเริ่มจากผู้เป็นประธานนําดอกไม้ธูปเทียนเครื่องสักการะพระพุทธรูป แล้วนํากล่าวบูชาพระรัตนตรัย อาราธนาศีล พระสงฆ์ให้ศีลญาติโยม รับศีลแล้วผู้เป็นประ ธานอาราธนาพระปริตรพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ จบแล้วญาติโยมก็เอาน้ำอบน้ำหอมสรงพระพุทธรูป จากนั้นหนุ่มสาวก็จะพากัน หาบน้ำจากบ่อหรือหนอง บึง ไปเทไว้ใน โอ่งของวัดให้พระภิกษุ สามเณรได้ใช้อาบขณะเดียวกันก็จะเริ่มเล่นสาดน้ำกันและกันเป็นที่สนุกสนานตอนค่ำ นิมนต์พระสงฆ์มาสวดไชยมงคล (มงคลสูตร) ที่ผามไชย์กลางหมู่บ้าน รุ่งเช้า (วันแรมหนึ่งค่ำ) เป็น "มื้อเนา" ถือเป้นวันขึ้นปีใหม่ มีการทําบุญให้ทาน โดยนําข้าวปลาอาหารมาถวายพระที่ผามไชย์การสวดไชยมงคล (มงคลสูตร) นี้ต้องสวดให้ครบ 7 คืน โดยมีบาตรใส่น้ำมนต์ไว้ 7 ใบพร้อมทั้งมีถังใส่ กรวดทรายไว้จํานวนหนึ่ง เมื่อครบ 7 คืนแล้ว พระสงฆ์จะเดินสวด ไชยมงคลไปรอบหมู่บ้าน พร้อมกับสาดน้ำมนต์ ส่วนญาติโยมจะหว่านกรวดทรายไป พร้อมๆ กัน ถือว่าเป็นการขับไล่สิ่งอัปมงคล และเสนียดจัญไรออกไปจากหมู่บ้านทําให้คนทั้งหมู่บ้าน ประสบแต่ ความสุขความเจริญในปีใหม่ที่จะมาถึง คนอีสานเรียกวันสงกรานต์ ดังนี้ คือ วันที่ 13 เมษายน เรียกว่า วันสังขารล่วง วันที่ 14 วันเนา และ วันที่ 15 เรียกว่า วันสังขารขึ้น

 

เดือนแปด บุญเข้าพรรษา

               บุญเข้าพรรษาของภาคอีสานเป็นประเพณีทางพุทธศาสนาคล้ายคลึงกับทางภาคกลางคือจะมีการทําบุญตักบาตร ถวายผ้าอาบน้ำฝน สงบ จีวรและ เทียนพรรษา หากแต่ในภาคอีสานจะจัดขบวนแห่เทียน อย่างยิ่งใหญ่ และมักมีการประกวดความสวยงามของเทียนจากแต่ละหมู่บ้าน ซึ่งตกแต่ง สลักเสลาเทียนเป็นลวดลาย เรื่องราวทางพุทธศาสนาอย่างสวยงาม เมื่อแห่เทียนมาถึงวัดชาวบ้านจะรับศีล รับพรฟังธรรม ตอนค่ำจะเวียนเทียน รอบพระอุโบสถ

มูลเหตุของพิธีกรรม

เนื่องจากในสมัยพุทธกาล พระภิกษุเที่ยวจาริกสอนธรรมไปตามหมู่บ้านต่าง ๆ ตลอดทั้งปีไม่ว่าจะเป็นฤดูฝน ฤดูหนาว หรือฤดูร้อน แต่ในฤดูฝนนั้น ภิกษุได้เหยียบย่ำข้าวกล้าในนาของชาวบ้านเสียหาย สัตว์ตัว น้อยต่างๆ พลอยถูกเหยียบตายไปด้วย พระพุทธเจ้าจึงทรงบัญญัติให้ภิกษุต้องจําพรรษา 3 เดือน ในฤดูฝนโดยมิให้ไปค้างแรมที่อื่นใดนอกจากในวัดของตน ถ้าภิกษุฝ่าฝันถือว่า "ศีลขาดและต้องอาบัติทุกกฎ" เว้นแต่กรณีจําเป็นที่เรียกว่า "สัตตาหกรณียะ" เช่น บิดามารดา ป่วย เป็นต้น แต่ต้องกลับมาภายใน 7 วันพรรษาจึงจะไม่ขาด

พิธีกรรม

เมื่อถึงวันเพ็ญเดือนแปดตอนเช้าญาติโยมก็จะนําดอกไม้ธูปเทียน ข้าวปลา อาหาร มาทําบุญตักบาตรที่วัดตอนบ่ายจะนําสบงจีวร ผ้าอาบน้ำ เทียนพรรษา และดอกไม้ธูปเทียนมาถวาย พระภิกษุที่วัดแล้วรับศีลฟังธรรมพระเทศนาพอถึงเวลาประมาณ 19.00-20.00 น. ชาวบ้านจะนําดอกไม้ธูปเทียนมารวม กันที่ศาลาโรงธรรมเพื่อรับศีล และเวียนเทียนจนครบสามรอบ แล้วจึงเข้าไปในศาลาโรงธรรมเพื่อฟังพระธรรมเทศนาจนจบจากนั้นจะแยกกันกลับบ้าน เรือนของตน ส่วนผู้ที่มีศรัทธาแก่กล้าก็จะพากันรักษาศีลแปดจนถึงเช้าวันรุ่งขึ้น ซึ่งเป็นวันแรมหนึ่งค่ำเดือนแปด อันเป็นวันเข้าพรรษา ซึ่งพระภิกษุจะ ต้องจําพรรษาในวัดของตนเป็นเวลาสามเดือน

 

เดือนเก้า บุญข้าวประดับดิน

บุญข้าวประดับดิน จัดขึ้นในช่วงปลายเดือนเก้าเป็นการทําบุญให้ญาติผู้ล่วงลับ โดยการนําข้าวปลาอาหารคาวหวาน หมากพลู บุหรี่อย่างละเล็กละน้อย ห่อด้วยใบตองเป็นสองห่อกลัดติดกันเตรียมไว้ตั้งแต่หัวค่ำ ครั้นถึงเวลาตีสาม ตีสี่ของวันรุ่งขึ้นจะนําห่ออาหารและหมากพลูไปวางไว้ตามโคนต้นไม้รอบๆ วัด เพื่อให้ญาติพี่น้องผู้ล่วงลับ รวมทั้งผีไร้ญาติอื่นๆ ซึ่งเชื่อว่าจะมาเยี่ยมญาติพี่น้องในเวลานี้มารับไปเพื่อจะได้ไม่อดอยากหิวโหย นอกจากจะเป็น การทําบุญและทําทานแล้วยังแสดงถึงความกตัญญูอีกส่วนด้วย

มูลเหตุของพิธีกรรม

คนลาวและไทยอีสานมีความเชื่อสืบต่อกันมาแต้โบราณกาลว่ากลางคืนของเดือนเก้าดับ (วันแรมสิบสี่ค่ำเดือนเก้า) เป็นวันที่ประตูนรกเปิดในรอบปี ยมบาลจะปล่อยให้ผีนรกออกมาเยี่ยมญาติในโลกมนุษย์ ในคืนนี้คืนเดียวเท่านั้น ดังนั้นจึงพากันจัดห่อข้าวไว้ให้ญาติพี่น้องที่ตายไปแล้วถือว่าเป็น งานบุญเพื่ออุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้แก่ญาติพี่น้องผู้ล่วงลับไปแล้วพิธีกรรม ตอนเย็นของวันแรม 13 ค่ำเดือนเก้า แม่บ้านแม่เรือนทุกครัวเรือนจะ "ห่อข้าวน้อย" ซึ่งมีวิธีห่อดังนี้ ฉีกใบตองออกให้มีขนาดกว้างเท่ากับหนึ่งฝ่ามือ ส่วนความยาวนั้นให้ยาวสุดซี่ของใบกล้วย นําเอาข้าวเหนียวนึ่งสุก แล้วป่นเป็นก้อนเล็ก ๆ ขนาดเท่าหัวแม่มือ วางบนใบตองที่จะห่อ จากนั้นแกะเนื้อปลา ไก่ หมู ใส่ลงไปอย่างละเล็กน้อย (ถือว่าเป็นอาหารคาว) แล้วใส่น้ำอ้อยกล้วยสุก มะละกอสุกหรือขนมหวานอื่น ๆ ลงไปอีกนิด (ถือว่าเป็นของหวาน) จากนั้นใส่หมากหนึ่งคํา บุหรี่หนึ่งมวน เมี่ยงหนึ่งคํา แล้วจึงห่อใบตอบเข้าหากัน โดยใช้ไม้กลัดหัวท้ายและตรงกลางก็จะได้ห่อข้าวน้อยที่มีลักษณะยาวๆ (คล้ายห่อ ข้าวเหนียวปิ้ง) สําหรับจํานวนของ ห่อข้าวน้อยนี้ก็ควรจะให้มีมากกว่าจํานวนญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว ทั้งนี้เพราะจะต้องมีจํานวนหนึ่งเผื่อผีไม่มีญาติด้วย ครั้งถึงเวลาประมาณ 03.00-04.00 น. ของวันแรม 14 ค่ำ เดือนเก้าพวกผู้ใหญ่ในแต่ละครัวเรือนจะนําเอาห่อข้าวน้อยไปวางไว้ตามโคนต้นไม้ในวัด ตามดินริมกําแพงวัดบ้าง ริมโบสถ์ริมเจดีย์ในวัดบ้าง การนําเอาห่อข้าวน้อยไปวางไว้ตามที่ต่าง ๆ ในวัดนี้เรียกว่า "การยายห่อข้าวน้อย" ซึ่งจะพากันทําเงียบ ๆ ไม่มีฆ้องกลอง แห่แต่อย่างใด หลังจากยายห่อข้าวน้อยเสร็จแล้ว จะกลับบ้านเตรียมหุงหาอาหารในตอนรุ่งเช้าของวันแรม 14 ค่ำ เดือนเก้า ซึ่งญาติโยมทุกครัวเรือน จะนําข้าวปลาอาหารไปทําบุญตักบาตรเลี้ยงพระ จากนั้นพระสงฆ์จะแสดงพระธรรมเทศนาเกี่ยวกับอานิสงฆ์ของบุญข้าวประดิบดินให้ฟังญาติโยม ถวายจตุปัจจัยไทยทาน พระสงฆ์ให้พรญาติโยมกรวดน้ำอุทิศส่วนบุญกุศลไปให้ญาติผู้ล่วงลับ

เดือนห้า บุญสรงน้ำ หรือ บุญฮดสรง

บุญฮดสรง หรือ บุญสงกรานต์ จัดให้มีในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือนห้า ซึ่งถือเป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทยมาตั้งแต่โบราณ ในวันขึ้นปีใหม่ของไทยมาแต่โบราณ ในวันนี้พระสงฆ์ นําพระพุทธรูปออกจากโบสถืมาไว้ที่หอสรง ตอนบ่าย ชาวบ้านจะนําน้ำอบ น้ำหอม มาร่วมกันสรงน้ำพระพุทธรูปที่หอสรงนี้ จากนั้น ก็ออกไปเก็บดอกไม้มาจัดประกวดประชันในการบูชาพระ ระหว่างนี้ชาวบ้านจะพากันเล่นแคน ฉิ่งฉาบ เพื่อความสนุกสนานรดน้ำดําหัวญาติผู้ใหญ่ และเล่นสาดน้ำกัน โดยชาวบ้านอาจเล่นสนุกสนานถึง 15 วัน

มูลเหตุของพิธีกรรม

เนื่องจากเดือนนี้ถือว่าเป็นวันขึ้นปีใหม่มาแต่โบราณ โดยจะถือเอาวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 เป็นวันเริ่ม ต้นการทําบุญพิธีกรรม เมื่อถึงวันเพ็ญเดือนห้าเวลา บ่ายสามโมง ถือว่า "เป็นมื้อเอาพระลง" หมายถึงการนําเอา พระพุทธรูปทั้งหมดในวัดมาทําความสะอาดแล้วนํามาตั้งรวมไว้ที่กลางศาลาโรงเรือน หรือ "หอแจก" พิธีเริ่มจากผู้เป็นประธานนําดอกไม้ธูปเทียนเครื่องสักการะพระพุทธรูป แล้วนํากล่าวบูชาพระรัตนตรัย อาราธนาศีล พระสงฆ์ให้ศีลญาติโยม รับศีลแล้วผู้เป็นประ ธานอาราธนาพระปริตรพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ จบแล้วญาติโยมก็เอาน้ำอบน้ำหอมสรงพระพุทธรูป จากนั้นหนุ่มสาวก็จะพากัน หาบน้ำจากบ่อหรือหนอง บึง ไปเทไว้ใน โอ่งของวัดให้พระภิกษุ สามเณรได้ใช้อาบขณะเดียวกันก็จะเริ่มเล่นสาดน้ำกันและกันเป็นที่สนุกสนานตอนค่ำ นิมนต์พระสงฆ์มาสวดไชยมงคล (มงคลสูตร) ที่ผามไชย์กลางหมู่บ้าน รุ่งเช้า (วันแรมหนึ่งค่ำ) เป็น "มื้อเนา" ถือเป้นวันขึ้นปีใหม่ มีการทําบุญให้ทาน โดยนําข้าวปลาอาหารมาถวายพระที่ผามไชย์การสวดไชยมงคล (มงคลสูตร) นี้ต้องสวดให้ครบ 7 คืน โดยมีบาตรใส่น้ำมนต์ไว้ 7 ใบพร้อมทั้งมีถังใส่ กรวดทรายไว้จํานวนหนึ่ง เมื่อครบ 7 คืนแล้ว พระสงฆ์จะเดินสวด ไชยมงคลไปรอบหมู่บ้าน พร้อมกับสาดน้ำมนต์ ส่วนญาติโยมจะหว่านกรวดทรายไป พร้อมๆ กัน ถือว่าเป็นการขับไล่สิ่งอัปมงคล และเสนียดจัญไรออกไปจากหมู่บ้านทําให้คนทั้งหมู่บ้าน ประสบแต่ ความสุขความเจริญในปีใหม่ที่จะมาถึง คนอีสานเรียกวันสงกรานต์ ดังนี้ คือ วันที่ 13 เมษายน เรียกว่า วันสังขารล่วง วันที่ 14 วันเนา และ วันที่ 15 เรียกว่า วันสังขารขึ้น