เดือนสิบสอง บุญกฐิน

พิมพ์
ฮีต12

 

 

 

เดือนสิบสอง บุญกฐิน

บุญกฐินคือ บุญที่เรียกว่า "กาลทาน" นี้มีกําหนดให้ทําได้เฉพาะใน ช่วงวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึง 15 ค่ำ เดือน 12 ของทุก ปี จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า "บุญ เดือน 12" ชาวอีสานเชื่อว่าผู้ใดได้ ทําบุญกฐินจะไม่ตกนรกและจะได้รับผลบุญที่ทําในชาตินี้ไว้เก็บกินในชาติหน้า งานบุญกฐินจึงจัดเป็นงานสําคัญ ในส่วน พิธีกรรมนั้นคล้ายคลึงกับภาคกลางแต่ที่ชาวอีสานและเครื่องบริวารกฐิน ซึ่งส่วนมากจะเป็นเครื่องใช้ในครัวเรือนมาตั้งวางไว้ในที่เปิดเผยเพื่อให้ญาติพี่น้อง หรือชาวบ้าน ใกล้เคียงนําสิ่งของ เช่น เสื่อ หมอน อาสนสงฆ์ ฯลฯ มาร่วมสบทบ ตอนเย็นของวันรวมก็จะนิมนต์ พระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์ตอนกลางคืน อาจจัดให้มีมหรสพต่างๆ และที่ขาดไม่ได้ในงานบุญ กฐินก็คือ ต้องจุด "บั้งไฟพลุ" อย่างน้อยจํานวน 4 บั้ง เอาไว้จุดเมื่อตอนหัวค่ำหนึ่งลูก ตอนดึกหนึ่งลูก ตอนใกล้สว่างหนึ่งลูก และตอนถวายกฐินอีกหนึ่งลูก นอกจากจุดบั้งไฟพลุแล้วก็จะจุดบั้งไฟตะไลเป็นระยะ ๆ ในขณะที่แห่กฐินรุ่งเช้าเป็นขบวนแห่กฐินจาก บ้านไปถวายพระสงฆ์ที่วัด เมื่อถึงวัดต้องแห่เครื่องกฐินเวียนขวาสามรอบ รอบศาลาโรงธรรม จากนั้นจึงนําเครื่องกฐินขึ้นตั้งบนศาลาโรงแรม นําข้าวปลา อาหารถวายพระ ถ้าถวายตอนเช้าก็เลี้ยงพระตอนฉันจังหัน แต่ถ้าถวายตอนบ่ายก็จะเลี้ยงพระตอนเพล เมื่อพระสงฆ์สามเณรฉันเสร็จแล้วผู้เป็นเจ้าภาพ องค์กฐินจะจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย นํารับศีลแล้วกล่าวคําถวายกฐินเป็นเสร็จพิธี ส่วนพระสงฆ์เมื่อมีกฐินมาทอดที่วัดก็จะประชุมสงฆ์แล้วให้ภิกษุรูป หนึ่งเสนอต่อที่ประชุมสงฆ์ว่าควรให้แก่ภิกษุ (เอ่ยนามภิกษุ) ที่สมควรจะได้รับกฐิน ส่วนมากก็เป็นเจ้าอาวาสวัดนั้นๆ เมื่อที่ประชุมสงฆ์เห็นชอบตามที่มีผู้เสนอ ก็จะเปล่งคําว่า "สาธุ" พร้อมกันจากนั้นญาติโยมก็จะพากันถวายเครื่องปัจจัยไทยทานแด่ภิกษุสามเณรอื่น ๆ ทั้งวัด พระสงฆ์รับแล้วจะอนุโมทนาและให้พรเป็น เสร็จพิธีจะขาดไม่ได้ คือ การเฉลิมฉลองโดยการจุดพลุบั้งไฟอย่างเอิกเกริกในขณะที่แห่ขบวนกฐินมาที่วัด

มูลเหตุพิธีกรรม

เพื่อให้ภิกษุสงฆ์มีโอกาสได้ผลัดเปลี่ยนไตรจีวรใหม่ เนื่องจากของเก้าใช้นุ่งห่มมาตลอดระยะเวลาสามเดือนที่เข้าพรรษาย่อมเก่าคร่ำคร่ามีเรื่องเล่าว่าในสมัย พระพุทธองค์ยังทรงมีพระชนมชีพอยู่ ภิกษุชาวเมืองปาฐาจํานวน 30 รูปพากันเดินทางไปเฝ้าพระพุทธองค์ที่พระเชตุวันมหาวิหารไม่ทันวันเข้าพรรษา จึงต้องพากันพักจําพรรษาอยู่ที่เมืองสาเกตพอออกพรรษาแล้วก็รีบพากันเดินทางกรําแดดกรําฝนไปเฝ้าพระพุทธองค์ จีวรที่นุ่มห่มก็เปียกปอน เมื่อพระพุทธองค์ ทรงเห็นความยากลําบากของพระภิกษุเหล่านี้ก็ทรงอนุญาตให้รับผ้ากฐินได้ เพื่อจะได้มีจีวรเปลี่ยนใหม่ เมื่อผู้มีศรัทธาประสงค์จะนํากฐินไปทอดต้องไปขอ จองวัดโดยปกติมักจะติดต่อ

พิธีกรรม

ตั้งแต่ตอนเช้าเข้าพรรษาใหม่ ๆ ซึ่งอาจเป็นเดือนเก้า เดือนสิบ เมื่อเจ้าอาวาสแจ้งว่าวัดนั้นยังไม่มีผู้ใด จองกฐิน ผู้มีจิตศรัทธาที่จะทําบุญจะปักสลากเพื่อ ประกาศให้คนทั้งหลายรู้ว่าตนเป็นผู้จองและจะนํากฐินมาทอดที่วัดดังกล่าวสลากต้องปักไว้ในที่เปิดเผย เช่น ศาลาโรงธรรม หรือฝาผนัง ด้านนอกของโบสถ์ รายละเอียดในสลากก็จะบอกถึงชื่อที่อยู่ของผู้ที่จะนํากฐินมาทอด รวมทั้งบอกวันเวลาที่จะทอดด้วย เพื่อไม่ให้เจ้าศรัทธาอื่นนํากฐินมาทอดรวมทั้งบอกวันเวลา ที่จะทอดด้วย เพื่อไม่ให้เจ้าศรัทธาอื่นนํากฐินมาทอดซ้ำซ้อนกัน เพราะวัดหนึ่งๆ จะรับกฐินได้ปีละหนึ่งกองเท่านั้น คนอีสานมีความเชื่อว่าถ้าผู้ใดได้ทําบุญกฐิน แล้วตายไปจะไม่ตกนรก มีแต่จะได้รับผลบุญที่ตนเองกระทําเอาไว้เก็บกินในชาติหน้า การทําบุญกฐินจึงจัดเป็นงานสําคัญ ผู้ที่จะทําบุญกฐินจึงบอกกล่าว ลูกหลาน ญาติมิตรของตนให้โดยพร้อมหน้า ครั้นถึงวันรวมก็จะตั้งองค์กฐินที่บ้านของตน

ฮิต: 950