ศูนย์แสดงสินค้าพื้นเมืองโอท๊อปซิตี้ ถนนเปรมประชาราษฎร์ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ร้อยเอ็ด 45000 043 - 516715 edu101roiet@gmail.com
นโยบาย Cookie

เว็บไซต์นี้มีการใช้งาน Cookie โปรดกด "ยอมรับ" ในการเปิดใช้งาน Cookie ของเว็บไซต์

นโยบาย Cookie

        

กิจกรรมโครงการกองการศึกษา อบจ.ร้อยเอ็ด

              

         วันอาทิตย์ที่ 17 มิ.ย. 2566  องค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ด ร่วมกับ ยุวพุทธิกสมาคมจังหวัดร้อยเอ็ด และคณะสงฆ์จังหวัดร้อยเอ็ด ดำเนินโครงการอบรมคุณธรรม จริยธรรมข้าราชการ นักการเมือง นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไปนอกเทศกาลเข้าพรรษา ประจำปี 2566 ณ วัดโพธิการาม อ.ปทุมรัตต์ จ.ร้อยเอ็ด

              

         วันอาทิตย์ที่ 4 มิ.ย.2566  องค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ด ร่วมกับ ยุวพุทธิกสมาคมจังหวัดร้อยเอ็ด และคณะสงฆ์จังหวัดร้อยเอ็ด ดำเนินโครงการอบรมคุณธรรม จริยธรรมข้าราชการ นักการเมือง นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไปนอกเทศกาลเข้าพรรษา ประจำปี 2566 ณ วัดป่าตถตาราม ต.ผักแว่น อ.จังหาร จ.ร้อยเอ็ด

              

          วันเสาร์ที่ 14  มกราคม  2566  องค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ด จัดโครงการวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2566  ณ บริเวณลานสาเกต อ.เมือง จ.ร้อยเอ็ด

 

              

          วันพฤหัสบดี ที่ 22 ธันวาคม 2565 ณ ห้องประชุมประดับฟ้า โรงแรมเพชรรัชต์ การ์เด้นร้อยเอ็ด นายเศกสิทธิ์ ไวนิยมพงศ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ด 

 

              

          วันพฤหัสบดี ที่ 22 ธันวาคม 2565  พิธีทำบุญและฟังเทศน์เฉลิมพระธรรมบารมีสมเด็จพระเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชนีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

 

              

           วันที่  22   พฤศจิกายน  2565  กองการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ด จัดโครงการพัฒนาศักยภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา 

 

              

           วันที่  31   ตุลาคม   2565  นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ด มอบหมายให้นายทรงศักดิ์  ทุงจันทร์ ผู้อำนวยการกองการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม  ร่วมพิธีทอดผ้าป่าสมทบทุนโครงการทุนเล่าเรียนหลวงสำหรับพระสงฆ์ไทย จังหวัดร้อยเอ็ด ณ พระอารามหลวงวัดบึงพลาญชัย

 

              

           วันที่  12  กันยายน  2565  กองการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ด ร่วมกับโรงเรียนโพธิ์ทองพิทยาคม จัดพิธีมอบทุนการศึกษาสำหรับนักศึกษา และความช่วยเหลือผู้ยากจนหรือผู้ด้อยโอกาส  ประจำปีงบประมาณ 2565

 

              

           วันที่  12  กันยายน  2565  กองการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ด ร่วมกับโรงเรียนขี้เหล็กพิทยาคม จัดพิธีมอบทุนการศึกษาสำหรับนักศึกษา และความช่วยเหลือผู้ยากจนหรือผู้ด้อยโอกาส  ประจำปีงบประมาณ 2565

 

กิจกรรมโครงการสถานศึกษาในสังกัด

                                                                                                                                    
                              

               วันที่  31   มกราคม   2565   ดร.เอกภาพ พลซื่อ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ด พร้อมด้วย ดร.รัชนี พลซื่อ และคณะผู้บริหารองค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ด เดินทางมาเยี่ยมและให้กำลังใจคณะครู บุคลากรและนักเรียน โรงเรียนกีฬาองค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ด และในโอกาสได้ร่วมปลูกต้นทองกวาว ซึ่งเป็นต้นไม้ประจำโรงเรียนกีฬาองค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ดร่วมกับคณะครูและบุคลากร

                          

                                                                                                                                                     

                  
  
 
                วันจันทร์ที่ 26 พฤศจิกายน 2564  นายธนภัทร   วันทาพงษ์  พร้อมด้วยผู้บริหาร คณะครู และนักเรียน จัดโครงการเกี่ยวข้าวร้อยใจใช้ชีวิตแบบพอเพียง โดยมีกิจกรรมลงแขกเกี่ยวข้าวของโรงเรียนที่ได้ปลูกไว้บริเวณด้านหน้าโรงเรียนเพื่อส่งเสริมการใช้ชีวิตแบบพอเพียง
                          

                                                                                                                                     
             

                  
  
 
                โรงเรียนโพธิ์ทองพิทยาคม มอบทุนนักเรียนยากจน (ทุนเสมอภาค)  ภาคเรียนที่ 2  ปีการศึกษา 2564 
                          

                   

     
     > ข้อมูลสารสนเทศทางการศึกษา
     > ข้อมูลแผนงานโครงการ
     แผนพัฒาการศึกษา
     > แผนการใช้จ่ายงบประมาณ
     > แบบคำขอใช้สนามกีฬาจังหวัดร้อยเอ็ด
     > ระเบียบการขอใช้สนามกีฬาจังหวัดร้อยเอ็ด

 

 

 

 

ฮีตสิบสอง

              ฮีตสิบสอง หมายถึงประเพณี 12 เดือนที่เกี่ยวเนื่องกับหลักทางพุทธศาสนา ความเชื่อและการดํารงชีวิตทางเกษตรกรรมซึ่งชาวอีสาน ยึดถือปฏิบัติกัน มาแต่โบราณ มีแนวปฏิบัติแตกต่างกันไปในแต่ละเดือนเพื่อให้เกิดสิริมงคลในการดําเนินชีวิต เรียกอย่างท้องถิ่น ว่างานบุญ ชาวอีสานให้ความสําคัญกับ ประเพณีฮีตสิบสองเป็นอย่างมากและยึดถือปฏิบัติมาอย่างสม่ำเสมอนับเป็นเอกลักษณ์ของ ชาวอีสาน อย่างแท้จริง คําว่า "ฮีตสิบสอง"มาจากคําว่า "ฮีต" อันหมายถึงจารีต การปฏิบัติที่สืบต่อกันมาจนกลายเป็นประเพณี "สิบสอง" คือประเพณีที่ปฏิบัติตามเดือนทางจันทรคติทั้งสิบสองเดือน

คองสิบสี่

              เป็นบทบัญญัติทางสังคมของชาวอีสานให้เป็นหลักปฏิบัติต่อกันสําหรับคนในสถานภาพต่าง ๆ มาแต่โบราณโดยใช้เป็นคําบอกเล่าขาน สืบต่อกันครั้ง ยังไม่มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร "คองสิบสี่" มักเป็นคํา กล่าวควบคู่กับคําว่า ฮีตสิบสอง สันนิษฐานไว้ 2 ความหมาย ว่ามาจากคําว่า คลอง หรือครรลองเป็นคํานามหมายถึง ทางหรือแนวทางเช่น คลองธรรมหรือมาจากครองซึ่งเป็นคํากิริยามีความหมาย ถึงการรักษาไว้ เช่น คําว่า ครองเมือง ครองรักครองชีพโดยที่ชาวอีสานไม่นิยมออก เสียงคํากล้า ดังนั้น คองสิบสี่น่าจะมีความหมายถึง แนวทางที่ประชาชนทําไปชาวบ้านหรือสงฆ์พึงปฏิบัติ 14 ของท้องถิ่นบ้านเมือง

  

ปฎิทินการใช้สนามกีฬา

จำนวนผู้เข้าชม

4407447
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
4441
14081
74008
4251143
296142
458601
4407447

Your IP: 3.135.194.49
2024-07-27 07:31

เดือนยี่ บุญคูนลานหรือบุญคูนข้าว

บุญคูนลานหรือบุญคูนข้าวเป็นพิธีกรรมฉลองภายหลังจากเสร็จสิ้นการเก็บเกี่ยว ชาวบ้านรู้สึกยินดีที่ได้ผลผลิตมาก  จึงต้องการทําบุญ โดยนิมนต์พระสงฆ์มาสวดมนต์ในลานข้าวและในบางแห่งจะมีการสู่ขวัญข้าวเพื่อฉลองความอุดมสมบูรณ์ กล่าวขอบคุณแม่โพสพและ ขอโทษที่ได้ เหยียบย่ำ พื้นแผ่นดินในระหว่างการทํานา เพื่อความเป็นสิริมงคลและให้ผลผลิตเป็นทวีคูณในปีต่อไป

มูลเหตุของพิธีกรรม

มูลเหตุของพิธีทําบุญคูนข้าวหรือบุญคูนลาน เนื่องมาจากเมื่อชาวนาเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จจะหาบฟ่อน   ข้าวมารวมกันเป็น "ลอนข้าว" ไว้ที่นาของตน ถ้าลอมข้าวของใครสูงใหญ่ก็แสดงให้ผู้คนที่ผ่านไปมารู้ว่านาทุ่งนั้นเป็นนาดี ผู้เป็นเจ้าของก็ดีใจ หายเหน็ดเหนื่อยจิตใจเบิกบานอยากทําบุญทํานาน เพื่อเป็นกุศลส่งให้ในปีต่อไปจะได้ผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้นอีก เรียกว่า "คูนให้ใหญ่ให้สูงขึ้น" เพราะคําว่า "คูณ" นี้มาจาก "ค้ำคูณ" หมายถึงอุดหนุนให้ดีขึ้น ช่วยให้เจริญขึ้น

พิธีกรรม

ผู้ประสงค์จะทําบุญคูนข้าวหรือบุญคูนลาน ต้องจัดสถานที่ทําบุญ ที่ "ลานนวดข้าว" ของตนโดยนิมนต์พระภิกษุสงฆ์มาเจริญพุทธมนต์มีการวางด้าย สายสิญจน์และปักเฉลวรอบกองข้าว เมื่อพระสงฆ์เจริญพุทธมนต์เสร็จแล้วก็จะถวายภัตตาหารเลี้ยงเพลแก่พระภิกษุสงฆ์จากนั้นนําข้าวปลาอาหาร มาเลี้ยง ญาติพี่น้องผู้มาร่วมทําบุญ เมื่อพระภิกษุสงฆ์ฉันเสร็จก็จะประพรมน้ำพุทธมนต์ให้กองข้าว ให้เจ้าภาพและทุกคนที่มาร่วมทําบุญ จากนั้นท่านก็จะให้พร เจ้าภาพก็จะนําน้ำพระพุทธมนต์ที่เหลือไปประพรมให้แก่ วัว ควาย ตลอดจนไร่นาเพื่อความเป็นศิริมงคล และเชื่อว่าผลของการทําบุญจะช่วยอุดหนุน เพิ่มพูนให้ได้ข้าวมากขึ้นทุกๆ ปี

 

 

 

เดือนสิบสอง บุญกฐิน

บุญกฐินคือ บุญที่เรียกว่า "กาลทาน" นี้มีกําหนดให้ทําได้เฉพาะใน ช่วงวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึง 15 ค่ำ เดือน 12 ของทุก ปี จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า "บุญ เดือน 12" ชาวอีสานเชื่อว่าผู้ใดได้ ทําบุญกฐินจะไม่ตกนรกและจะได้รับผลบุญที่ทําในชาตินี้ไว้เก็บกินในชาติหน้า งานบุญกฐินจึงจัดเป็นงานสําคัญ ในส่วน พิธีกรรมนั้นคล้ายคลึงกับภาคกลางแต่ที่ชาวอีสานและเครื่องบริวารกฐิน ซึ่งส่วนมากจะเป็นเครื่องใช้ในครัวเรือนมาตั้งวางไว้ในที่เปิดเผยเพื่อให้ญาติพี่น้อง หรือชาวบ้าน ใกล้เคียงนําสิ่งของ เช่น เสื่อ หมอน อาสนสงฆ์ ฯลฯ มาร่วมสบทบ ตอนเย็นของวันรวมก็จะนิมนต์ พระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์ตอนกลางคืน อาจจัดให้มีมหรสพต่างๆ และที่ขาดไม่ได้ในงานบุญ กฐินก็คือ ต้องจุด "บั้งไฟพลุ" อย่างน้อยจํานวน 4 บั้ง เอาไว้จุดเมื่อตอนหัวค่ำหนึ่งลูก ตอนดึกหนึ่งลูก ตอนใกล้สว่างหนึ่งลูก และตอนถวายกฐินอีกหนึ่งลูก นอกจากจุดบั้งไฟพลุแล้วก็จะจุดบั้งไฟตะไลเป็นระยะ ๆ ในขณะที่แห่กฐินรุ่งเช้าเป็นขบวนแห่กฐินจาก บ้านไปถวายพระสงฆ์ที่วัด เมื่อถึงวัดต้องแห่เครื่องกฐินเวียนขวาสามรอบ รอบศาลาโรงธรรม จากนั้นจึงนําเครื่องกฐินขึ้นตั้งบนศาลาโรงแรม นําข้าวปลา อาหารถวายพระ ถ้าถวายตอนเช้าก็เลี้ยงพระตอนฉันจังหัน แต่ถ้าถวายตอนบ่ายก็จะเลี้ยงพระตอนเพล เมื่อพระสงฆ์สามเณรฉันเสร็จแล้วผู้เป็นเจ้าภาพ องค์กฐินจะจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย นํารับศีลแล้วกล่าวคําถวายกฐินเป็นเสร็จพิธี ส่วนพระสงฆ์เมื่อมีกฐินมาทอดที่วัดก็จะประชุมสงฆ์แล้วให้ภิกษุรูป หนึ่งเสนอต่อที่ประชุมสงฆ์ว่าควรให้แก่ภิกษุ (เอ่ยนามภิกษุ) ที่สมควรจะได้รับกฐิน ส่วนมากก็เป็นเจ้าอาวาสวัดนั้นๆ เมื่อที่ประชุมสงฆ์เห็นชอบตามที่มีผู้เสนอ ก็จะเปล่งคําว่า "สาธุ" พร้อมกันจากนั้นญาติโยมก็จะพากันถวายเครื่องปัจจัยไทยทานแด่ภิกษุสามเณรอื่น ๆ ทั้งวัด พระสงฆ์รับแล้วจะอนุโมทนาและให้พรเป็น เสร็จพิธีจะขาดไม่ได้ คือ การเฉลิมฉลองโดยการจุดพลุบั้งไฟอย่างเอิกเกริกในขณะที่แห่ขบวนกฐินมาที่วัด

มูลเหตุพิธีกรรม

เพื่อให้ภิกษุสงฆ์มีโอกาสได้ผลัดเปลี่ยนไตรจีวรใหม่ เนื่องจากของเก้าใช้นุ่งห่มมาตลอดระยะเวลาสามเดือนที่เข้าพรรษาย่อมเก่าคร่ำคร่ามีเรื่องเล่าว่าในสมัย พระพุทธองค์ยังทรงมีพระชนมชีพอยู่ ภิกษุชาวเมืองปาฐาจํานวน 30 รูปพากันเดินทางไปเฝ้าพระพุทธองค์ที่พระเชตุวันมหาวิหารไม่ทันวันเข้าพรรษา จึงต้องพากันพักจําพรรษาอยู่ที่เมืองสาเกตพอออกพรรษาแล้วก็รีบพากันเดินทางกรําแดดกรําฝนไปเฝ้าพระพุทธองค์ จีวรที่นุ่มห่มก็เปียกปอน เมื่อพระพุทธองค์ ทรงเห็นความยากลําบากของพระภิกษุเหล่านี้ก็ทรงอนุญาตให้รับผ้ากฐินได้ เพื่อจะได้มีจีวรเปลี่ยนใหม่ เมื่อผู้มีศรัทธาประสงค์จะนํากฐินไปทอดต้องไปขอ จองวัดโดยปกติมักจะติดต่อ

พิธีกรรม

ตั้งแต่ตอนเช้าเข้าพรรษาใหม่ ๆ ซึ่งอาจเป็นเดือนเก้า เดือนสิบ เมื่อเจ้าอาวาสแจ้งว่าวัดนั้นยังไม่มีผู้ใด จองกฐิน ผู้มีจิตศรัทธาที่จะทําบุญจะปักสลากเพื่อ ประกาศให้คนทั้งหลายรู้ว่าตนเป็นผู้จองและจะนํากฐินมาทอดที่วัดดังกล่าวสลากต้องปักไว้ในที่เปิดเผย เช่น ศาลาโรงธรรม หรือฝาผนัง ด้านนอกของโบสถ์ รายละเอียดในสลากก็จะบอกถึงชื่อที่อยู่ของผู้ที่จะนํากฐินมาทอด รวมทั้งบอกวันเวลาที่จะทอดด้วย เพื่อไม่ให้เจ้าศรัทธาอื่นนํากฐินมาทอดรวมทั้งบอกวันเวลา ที่จะทอดด้วย เพื่อไม่ให้เจ้าศรัทธาอื่นนํากฐินมาทอดซ้ำซ้อนกัน เพราะวัดหนึ่งๆ จะรับกฐินได้ปีละหนึ่งกองเท่านั้น คนอีสานมีความเชื่อว่าถ้าผู้ใดได้ทําบุญกฐิน แล้วตายไปจะไม่ตกนรก มีแต่จะได้รับผลบุญที่ตนเองกระทําเอาไว้เก็บกินในชาติหน้า การทําบุญกฐินจึงจัดเป็นงานสําคัญ ผู้ที่จะทําบุญกฐินจึงบอกกล่าว ลูกหลาน ญาติมิตรของตนให้โดยพร้อมหน้า ครั้นถึงวันรวมก็จะตั้งองค์กฐินที่บ้านของตน

เดือนสาม บุญข้าวจี่

บุญข้าวจี่เป็นประเพณีที่เกิดจากความสมัครสมานของชุมชนชาวบ้านจะนัดหมายกันมาทําบุญร่วมกันโดยช่วยกันปลูกผามหรือปะรํา เตรียมไว้ใน ตอนบ่าย ครั้นเมื่อถึงรุ่งเช้าในวันต่อมาชาวบ้านจะช่วยกันจี่ข้าว หรือปิ้งข้าวและตักบาตรข้าวจี่ร่วมกัน หลังจากนั้นจะให้มีการ เทศน์นิทานชาดก เรื่องนางปุณณทาสีเป็นเสร็จพิธี

มูลเหตุของพิธีกรรม

มูลเหตุจากความเชื่อทางพุทธศาสนา เนื่องมาจากสมัยพุทธกาล มีนางทาสชื่อปุณณทาสี ได้นําแป้ง ข้าวจี่ (แป้งทําขนมจีน) ไปถวายพระพุทธเจ้า แต่จิตใจของนางคิดว่า ขนมแป้งข้าวจี่เป็นขนมของผู้ต่ำต้อย พระพุทธเจ้าคงไม่ฉัน ซึ่งพระพุทธเจ้าหยั่งรู้จิตใจนาง จึงทรงฉันแป้งข้าวจี่ ทําให้ นางปิติดีใจ ชาวอีสานจึงเอาแบบ อย่างและพากันทําแป้งข้าวจี่ถวายพระมาตลอด อีกทั้งเนื่องจากในเดือนสามอากาศของภูมิภาคอีสานกําลังอยู่ ในฤดูหนาว ในตอนเช้าผู้คนจะใช้ฟืนก่อไฟ ผิงแก้หนาวชาวบ้านจะเขี่ยเอาถ่านออกมาไว้ด้านหนึ่งของกองไฟ แล้วนําข้าวเหนียวมาปั้นเป็นก้อนกลม โรยเกลือวางลงบนถ่านไฟแดงๆ นั้นเรียกว่า ข้าวจี่ ซึ่งมีกลิ่นหอม ผิวเกรียมกรอบน่ารับประทานทําให้นึกถึงพระภิกษุสงฆ์ ผู้บวชอยู่วัดอยากให้ได้ รับประทานบ้าง จึงเกิดการทําบุญข้าวจี่ขึ้น ดังมีคํากล่าวว่า "เดือนสามค้อย เจ้าหัวคอยปั้นข้าวจี่ ข้าวจี่บ่มีน้ำอ้อย จัวน้อยเช็ดน้ำตา" (พอถึงปลาย เดือนสามภิกษุก็คอยปั้นข้าวจี่ ถ้าข้าวจี่ไม่มีน้ำอ้อยยัดไส้ เณรน้อยเช็ดน้ำตา)

พิธีกรรม

พอถึงวัดนัดหมายทําบุญข้าวจี่ทุกครัวเรือนในหมู่บ้านจะจัดเตรียมข้าวจี่ตั้งแต่ตอนย่ำรุ่งของวันนั้นเพื่อให้ข้าวจี่สุกทันใส่บาตรจังหัน นอกจาก ข้าวจี่แล้วก็จะนํา "ข้าวเขียบ" (ข้าวเกรียบ) ทั้งที่ยังไม่ย่างเพื่อให้พระเณรย่างกินเองและที่ย่างไฟจนโป่งพองใส่ถาดไปด้วย พร้อมจัดอาหารคาว ไปถวายพระที่วัด ข้าวจี่บางก้อนผู้ เป็นเจ้าของได้ยัดไส้ด้วยน้ำอ้อย แล้วทาด้วยไข่ เพื่อให้เกิดรสหวานหอมชวน รับประทาน ครั้นถึงหอแจกหรือ ศาลาโรงธรรมพระภิกษุสามเณรทั้งหมดในวัดจะ ลงศาลาที่ญาติโยมที่มารวมกันอยู่บนศาลาก่อน แล้วประธานในพิธีเป็นผู้อาราธนาศีล พระภิกษุให้ศีล ญาติโยมรับศีล แล้วกล่าวคําถวายข้าวจี่ จากนั้นก็จะนํา ข้าวจี่ใส่บาตรพระ ซึ่งตั้งเรียงไว้เป็นแถวเท่าจํานวนพระเณร พร้อมกับถวายปิ่นโต สํารับกับ ข้าวคาวหวาน เมื่อพระฉันจังหันเทศน์เสร็จแล้วก็ให้พร ญาติโยมรับ พรเป็นเสร็จพิธี

 

 

 

เดือนสิบเอ็ด บุญออกพรรษา

บุญออกพรรษาในเดือนสิบเอ็ดนอกจากจะเป็นโอกาสที่พระภิกษุสงฆ์จะแสดงอาบัติและว่ากล่าวตักเตือนกันแล้ว ชาวบ้านในภาคอีสานยังมีกิจกรรม กันอีกหลายอย่าง ทั้งประเพณีตักบาตรเทโว การจุดประทีปโคมไฟประดับประดาตามต้นไม้ บางแห่งนําต้นอ้อย หรือไม้ไผ่มามัดเป็นเรือจุดโคมแล้ว นําไปลอยในแม่น้ำที่เรียกว่า การไหลเรือไฟ เพื่อเป็นพุทธบูชาสําหรับหมู่บ้านที่อยู่ไกล แหล่งน้ำจะนิยมทําปราสาทผึ้งหรือผาสาดผึ้งทําจากกาบกล้วย ประดับประดาด้วยขี้ผึ้ง ซึ่งทําเป็นดอกไม้ แต่ปัจจุบันมักใช้ขี้ผึ้งมาตกแต่งปราสารททั้งหลัง แล้วจัดขบวนแห่มาถวายที่วัดอย่างสนุกสนาน

มูลเหตุพิธีกรรม

เพื่อเปิดโอกาสให้ภิกษุสงฆ์ว่ากล่าวตักเตือนกันได้ และเพื่อพระภิกษุสงฆ์จะได้จาริกไปในที่ต่างๆ เพื่อเที่ยวสั่งสอนศีลธรรมและธรรมะแก่ประชาชน หรือ เพื่อแสวงหาความสงบวิเวกในการปฏิบัติธรรม โดยไม่ต้องกลับมาค้างแรมที่วัดและให้ภิกษุหาผ้านุ่มห่มใหม่มาผลัดเปลี่ยน

พิธีกรรม

ในเช้ามืดวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 1 พระสงฆ์จะไปรวมกันที่อุโบสถเพื่อแสดงอาบัติต่อกัน จากนั้นจะทําวัตรและทําปวารณาแทนการสวดปาฏิโมกข์ (ปวารณา คือ พิธีกรรมทางศาสนาทสงฆ์ยอมให้ว่ากล่าวตักเตือนกับการปวารณาจะทําในวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 11 ซึ่งเป็นวันออกพรรษาจึงเรียกวันออกพรรษาว่า วันปวารณาหรือวันมหาปวารณา (จากพจนานุกรรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 ฉบับพิมพ์ พ.ศ.2538) ส่วนชาวบ้านก็จะเตรียมข้าวปลาอาหาร เพื่อให้ทําบุญตักบาตรที่วัดในตอนรุ่งเข้าและถวายผ้าจํานําพรรษาแด่ภิกษุสามเณร ตอนค่ำมีการเวียนเทียน

เนื้อหาอื่นๆ...

Page 1 of 3